
เก็บเกี่ยวที่ดี ต้องคืนอิทรียวัตถุให้ผืนดิน
การเรียนรู้เทคนิคต่างๆ การเปลี่ยนแปลงการลงมือทำให้สามารถลดต้นทุน การผลิตให้ต่ำลงและเพิ่มผลผลิตให้สูงขึ้น เช่น การเตรียมดินให้มีคุณภาพ โดยการระเบิดดินดานและการพรวนดินละเอียดปิดความ ชื้นเพิ่มประสิทธิภาพการปลูก โดยการใช้เครื่องจักรกลที่ทันสมัย การใส่ปุ๋ยให้ประหยัดปุ๋ยแต่พืชได้รับปุ๋ยเต็มที่ การกำจัดวัชพืชโดย ใช้เครื่องจักรกลและลดการใช้สารเคมี ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ แม้จะทำทุกขั้นตอนเป็นอย่างดี แต่เมื่อถึงฤดูกาลเก็บเกี่ยว หากไม่ได้วาแผนการเก็บเกี่ยวอย่างเหมาะสม ท่านอาจพบกับการสูญเสียจากการเก็บเกี่ยวที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจ แต่หากมีการเตรียมความพร้อมที่ดีแล้ว นอกจากจะช่วยลดความสูญเสียจากการเก็บเกี่ยวให้น้อยลงแล้ว ยังสามารถเพิ่มมูลค่าจากซากที่เหลือหลังการเก็บเกี่ยวให้เกิดประโยชน์สูงสุด เรามีเกษตรกรตัวอย่างที่เรียนรู้การจัดการซากที่เหลือจากการเก็บเกี่ยว นำมาแลกเปลี่ยนกัน
ด้วยเสียดาย จึงปั่นฟางเป็นปุ๋ยพืชสด คุณกิตติคม นาคแผ่น เกษตรกรหัวก้าวหน้า อ.บ้านหมี่ จ.ลพบุรี

“ปั่นฟางแทนการเผา มีแต่คนว่าผมบ้า” เป็นคำแรกที่พี่กิตติคมบอกกับเราเมื่อขอเข้าไปสัมภาษณ์ “เมื่อก่อนผมก็จัดการซากที่เหลือจากการเก็บเกี่ยว คือ การเผาฟางเหมือนคนอื่น ๆ จนวันหนึ่งไฟ
มันลามไปไหม้แปลงนาเพื่อนบ้าน ผมแทบร้องไห้จากนั้นมาก็ต้องเสียเวลานั่งเฝ้าการเผาฟางตลอดเวลาผมจึงคิดว่าทำไมผมถึงต้องมาลำบากมากขนาดนี้ และถ้าไม่เผาฟางล่ะ...? มันจะเป็นยังไง
มันจึงเป็นจุดเริ่มต้นให้ผมหันมาทดลองปั่นฟางเป็นปุ๋ยพืชสด” พี่กิตติคมเล่าขั้นตอนการปั่นฟางว่า เริ่มตั้งแต่การวางแผนขั้นตอนการเก็บเกี่ยวโดยใช้รถเกี่ยวให้เกี่ยวแบบกระ จายฟาง หลังจากนั้นจึงสูบน้ำเข้านาระดับน้ำสูงประมาณ 5 เซนติเมตร และทิ้งไว้ประมาณ 1-2 วัน อาจใส่จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง หรือ สารเร่ง พด.2 จากกรมพัฒนาที่ดิน เพื่อเร่งการย่อยสลายฟางให้เร็วขึ้น และช่วยลดปัญหาข้าวเหลืองเนื่องจากการขาดไนโตรเจน (ข้าวเมาฟาง) ทำให้ไม่กินแรงรถแทรกเตอร์ในขั้นตอนการปั่นฟาง จากนั้นนำรถแทรกเตอร์ติด โรตารี่ปั่นฟางที่หมักไว้ เทคนิคการปั่นฟางให้ปั่นแนวขวางกับทางรถเกี่ยวข้าว โดยปั่นฟางทิ้งไว้ 1 สัปดาห์ หลังจากนั้นจึงค่อยมาทำเทือกประโยชน์ที่ได้จากการปั่นฟางเป็นปุ๋ยพืชสดแทนการเผา คือ
1. ไม่ทำลายจุลินทรีย์และสิ่งมีชีวิตในดิน เช่น พวกไส้เดือน ซึ่งจะช่วยทำให้ ดินร่วนซุย ดินไม่เหนียวไถง่ายขึ้นและทำให้ข้าวเจริญเติบโตได้ดี
2. เป็นการเพิ่มอินทรียวัตถุให้กับดิน ต้นทุนการเพาะปลูกลดลง เพราะใช้ปุ๋ยน้อยลงจาก 700 บาท/ไร่ เหลือเพียง 350 บาท/ไร่
3. ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ลดปัญหาโลกร้อน
การปั่นฟางแทนการเผาทำให้ไม่ต้องมาเสียเวลานั่งเฝ้านาเวลาเผา ไม่ต้องฉีดยา ไม่ต้องใส่ปุ๋ยมากเพราะดินดีแล้ว พี่กิตติคมฝากทิ้งท้ายว่า “ลองตามไปดูว่าฟางที่เกี่ยวข้าวเสร็จในแต่ละครั้งมันมีมากเท่าไหร่ เขาเอาไปไหน มูลค่า ฟางของเรามันมีค่ามากกว่าที่เราขายไป เป็นชาวนาต้องช่างสังเกต หมั่นเรียนรู้ ลองทำจะได้รู้ว่าสิ่งเหล่านี้มันมีค่ามหาศาล”

4,473 total views, 1 views today