ติดต่อโทร 061-121-7777 ลพบุรี และ 065-494-5555 สระบุรี

แลกเปลี่ยนความรู้

แชร์ข่าวนี้ผ่านช่องทาง:

แนะนำการปลูกสับปะรดและการปลูกพืชไร้สารพิษ โดยประธานศูนย์ ( ศพก.)

ขอขอบพระคุณคุณชัยอรุณ นิยมสวัสดิ์ ประธานศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร ที่แนะนำ การปลูกสับปะรดและการปลูกพืชไร้สารพิษ ในครั้งนี้เป็นแนวทางการทำเกษตรให้กับชาวบ้านในพื้นที่และผู้ที่สนใจศึกษาดูงานที่แปลงเกษตรค่ะ

แลกเปลี่ยนความรู้

ดูข่าวสารทั้งหมด

กำจัดวัชพืชในร่อง ใส่ปุ๋ยทางดิน

กำจัดวัชพืชในร่อง ใส่ปุ๋ยทางดิน  >> อายุมัน 110 วัน ( 3 เดือนครึ่ง)  >> ใช้โรตารี่ปั่นพรวนกำจัดวัชพืชในร่องมัน เพิ่มออกซิเจนให้กับรากมัน   >> คำนวนผสมปุ๋ยใส่ตามความต้องการของพืช ช่วยลดต้นทุน       18-46-0 ผสม 0-0-60 จะได้ปุ๋ยสูตร  9 -23-30 เน้นตัวกลางกับตัวท้าย        เพื่อระเบิดหัวเนื่องจากมันเริ่มลงหัวแล้ว     >> เน้นเครื่องจักรเข้าไปจัดการ สะดวก รวดเร็ว   >> ลดต้นทุน ยากำจัดวัชพืช ค่าจ้างคน    >> ทำมันดินดำ

อ่านต่อ

ปลูกปอเทืองเป็นปุ๋ยพืชสดและไถกลบจะทำให้ชาวนา ชาวไร่ได้ปุ๋ยไม่ต่างกับซื้อปุ๋ยเคมี

วันนี้ผู้การฟาร์มเรามีสิ่งดีๆมาบอก  ในยุคที่ปุ๋ยราคาแพง เพื่อช่วยลดต้นทุน การนำปอเทืองมาปลูกเป็นปุ๋ยพืชสดและไถกลบจะทำให้ชาวนา ชาวไร่ได้ปุ๋ยไม่ต่างกับซื้อปุ๋ยเคมี เพราะจากการตรวจสอบในห้องแล็บ  >> การปลูกปอเทือง 1 ไร่ แล้วไถกลบตอนปอเทืองอายุ 50 วัน จะทำให้ดินได้ปุ๋ย เทียบเท่ากับปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) จำนวน 10-15 กก.  >> แต่ถ้าไถกลบในช่วงปอเทืองออกดอกแล้ว หรือมีอายุได้ 90 วัน จะทำให้ที่ดินแปลงนั้นได้ปุ๋ยเคมีสูตร 18-24-60 จำนวน 20 กก.ต่อไร่  >> ได้ปุ๋ยเคมีแบบไม่ต้องลงทุนอะไรเลย เพราะสำนักงานเขตพัฒนาที่ดิน จะให้ยืมเมล็ดพันธุ์ปอเทืองไปปลูกไร่ละ 5 กก.นำไปปลูกแล้วต้องนำเมล็ดพันธุ์มาใช้คืนให้สำนักงานตามจำนวนที่ยืมไป เพราะการปลูกปอเทือง 1 ไร่ จะได้เมล็ดพันธุ์ 30 กก.ยืมไป 5 กก.เกษตรกรเก็บไว้ทำพันธุ์ 5 กก.ที่เหลืออีก 20 กก.สามารถนำมาขายให้สำนักงานเขตฯ เป็นการหารายได้เสริมในช่วงพักนาได้อีกด้วย.

อ่านต่อ

ทดลองเรียนรู้ปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่ ด้วยวิธีการดำด้วยรถดำนาคูโบต้า ณ บริษัทสยามยนต์แทรกเตอร์ สาขาท่าวุ้ง

บริษัทสยามยนต์ ได้ทำแปลงทดลองเรียนรู้ปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่ ด้วยวิธีการดำด้วยรถดำนาคูโบต้า ณ บริษัทสยามยนต์แทรกเตอร์ สาขาท่าวุ้ง เพื่อไว้ให้เกษตรกรได้เข้ามาเรียนรู้แลกเปลี่ยน เมื่อช่วงเดือน พ.ย.66 ที่ผ่านมา ได้ผลผลิต ดังนี้ ข้าวไรซ์เบอร์รี่ 4 ไร่ > ได้น้ำหนักข้าว 2933 กก. (เฉลี่ย 733 กก./ไร่) > ตากแห้งแล้วเหลือน้ำหนัก 2513 กก. (ตากแห้งน้ำหนักหายไป 14.4%) > สีเป็นข้าวสารได้น้ำหนัก 1630 กก. > แพ็กซิลขาย กก.ละ 50 บ. คิดเป็นรายได้รวม 81,500 บ. > รวมต้นทุน 44,136 บ. (เฉลี่ยต้นทุน 11,034 บ./ไร่) #เหลือกำไร 37364 บ. (เฉลี่ยกำไร 9,341 บ./ไร่) เป็นอีกหนึ่งทางเลือกให้เกษตรกรได้นำข้อมูลไปใช้ ทดลองปลูก ต่อยอดได้ด้วยอีกครับ  

อ่านต่อ